การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง
การรักษาขึ้นอยู่กับชนิด และความรุนแรงระยะเวลาที่มีอาการ ถ้ามีการรักษาเร็วเท่าใด ความพิการและอัตราการตายจะลดลงเท่านั้น
1. การให้ยารับประทาน ในโรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือ อุดตัน จะได้ยาแอสไพลินเพื่อต้านการแข็งตัวของเลือด และอาจมียาชนิดอื่นๆ เพื่อช่วยในการไหลเวียนเลือดในสมองได้ดีขึ้น
2. ถ้าเป็นโรคหลอดเลือดสมองแตก และมีก้อนเลือดคั่งในสมองแพทย์อาจทำการผ่าตัดนบางราย มีอาการรุนแรงมากแพทย์อาจรักษาเพื่อพยุงอาการเท่านั้น
3. การรักษาเพื่อควบคุมปัจจัยเสี่ยง ร่วมกัน เช่น รักษาโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง
4. การทำกายภาพบำบัด เพื่อฟื้นฟูสภาพของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง
5. การรักษาโรคแทรกซ้อนที่มักจะเกิดในผู้ป่วยอัมพาตและนอนบนเตียงนานๆ คือ ปอดบวม
การวินิจฉัย
การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดสมอง
ถ้าสงสัยควรพบแพทย์ทันที และตวรจโดยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์(CTscan)หรือการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า(MRI)เพื่อหารอยโรคดังกล่าว
ความหมายของโรคหลอดเลือดสมอง
โรคหลอดเลือดสมอง หรือ stroke หมายถึงโรคที่หลอดเลือดสมองมีการแตกหรือตีบตันอย่างเฉียบพลัน ทำให้การไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงสมองส่วนนั้นหยุดชะงักลง ส่งผลให้เนื้อสมองถูกทำลายจากการขาดออกซิเจนและสารอาหาร สมองของเราแบ่งเป็นหลายบริเวณซึ่งแต่ละบริเวณควบคุมการทำงานของร่างกายแตกต่างกันไป หากสมองส่วนใดส่วนหนึ่งถูกทำลาย จะส่งผลต่อหน้าที่ที่สมองส่วนนั้นควบคุมอยู่
ปัจจัยเสี่ยง
ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมอง
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึง ถ้าผู้ใดมีปัจจัยเหล่านี้อยู่ จะมีโอกาสเกิดโรคหลอด เลือดสมอง ได้มากกว่าคนปกติ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ทุกคนจะ ต้องเกิด โรคหลอดเลือดสมองทุกราย ในขณะ
เดียวกัน ผู้ที่ไม่มี ปัจจัยเสี่ยงก็มีโอกาส เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยง
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
- ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ถ้าสามารถป้องกัน ไม่ให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง
หรือถ้าเป็นแล้วการลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสม จะสามารถลดความเสี่ยงลงได้
แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูงคือ
1. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
2. ลดอาหารที่เค็ม
3. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ เน้นอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้
4. หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเป็นประจำให้พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
5. ตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว ถ้าพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง
แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย
ซึ่งจำเป็นต้องรับประทาน ตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
ซึ่งโดยทั่วไปมักต้องรับประทานติดต่อกันเป็น เวลานาน
- การสูบบุหรี่ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้นจึงควรงดสูบบุหรี่ ถ้างดสูบบุหรี่ได้นอกจากความเสี่ยง ต่อโรคหลอด เลือดสมอง จะลดลงแล้ว ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคปอด จะน้อยลง และสุขภาพ โดยทั่วไป ก็จะดีขึ้นเองอีกด้วย
- โรคหัวใจ มีหลายชนิด เช่น โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ การรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแพทย์อาจ พิจารณา ให้ยาบางชนิดเพื่อลดโอกาสเกิดโรค หลอดเลือดสมอง และจะช่วยลดความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดสมองลงได้
- โรคเบาหวาน ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ ก็ ควรพบ แพทย์และรับประทาน ยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยลด ความเสี่ยงลงได้
- ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือด หัวใจตีบตัน และยังอาจเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป หรืออาจต้องรับประทานยาลดไขมัน ร่วมด้วยตามที่แพทย์แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ โรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบตัน และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขปรับเปลี่ยนได้
- ลดและควบคุมความดันโลหิต
- ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
- ลดน้ำหนัก
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค
- รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
- งด ! อาหารไขมัน
- งด ! เหล้า บุหรี่ และสารเสพติด
- ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดสำคัญของหัวใจ
“สโตร๊ค” เป็นฆาตรกรเงียบที่ทุกคนควรระวัง เพราะไม่น่าเชื่อว่าทุกวันนี้คนไทยตายด้วยโรคระบบหลอด
เลือดสมองและหัวใจมากกว่าถูกรถชนตาย ดังนั้น “กันไว้ดีกว่าแก้ ย่ำแย่เดี๋ยวจะ แก้ไม่ทัน” ไม่มีเทคโนโลยี
วิเศษใด ๆ ที่จะมาช่วยป้องกันโรคให้เราได้ “นอกจากตัวเราเอง”
ปัจจัยเสี่ยงหมายถึง ถ้าผู้ใดมีปัจจัยเหล่านี้อยู่ จะมีโอกาสเกิดโรคหลอด เลือดสมอง ได้มากกว่าคนปกติ อย่างไรก็ตามไม่ได้หมายความว่าผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยง ทุกคนจะ ต้องเกิด โรคหลอดเลือดสมองทุกราย ในขณะ
เดียวกัน ผู้ที่ไม่มี ปัจจัยเสี่ยงก็มีโอกาส เกิดโรคหลอดเลือดสมองได้เช่นกัน แต่ไม่มากเท่าผู้ที่มี ปัจจัยเสี่ยง
ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ ได้แก่ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญได้แก่
- ความดันโลหิตสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญมาก ถ้าสามารถป้องกัน ไม่ให้เป็น โรคความดันโลหิตสูง
หรือถ้าเป็นแล้วการลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับ ที่เหมาะสม จะสามารถลดความเสี่ยงลงได้
แนวทางปฏิบัติในการลดความเสี่ยงจากความดันโลหิตสูงคือ
1. รักษาน้ำหนักตัวไม่ให้อ้วนเกินไป
2. ลดอาหารที่เค็ม
3. รับประทานอาหารให้พอเหมาะ เน้นอาหารที่เป็นพืช ผัก ผลไม้
4. หมั่นออกกำลังกายให้สม่ำเสมอเป็นประจำให้พอเหมาะ ไม่มากหรือน้อยเกินไป
5. ตรวจสุขภาพเป็นครั้งคราว ถ้าพบว่าเป็นความดันโลหิตสูง
แพทย์อาจแนะนำให้รับประทานยาลดความดันโลหิตร่วมด้วย
ซึ่งจำเป็นต้องรับประทาน ตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัดและสม่ำเสมอ ไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
ซึ่งโดยทั่วไปมักต้องรับประทานติดต่อกันเป็น เวลานาน
- การสูบบุหรี่ ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองที่สำคัญเช่นกัน ดังนั้นจึงควรงดสูบบุหรี่ ถ้างดสูบบุหรี่ได้นอกจากความเสี่ยง ต่อโรคหลอด เลือดสมอง จะลดลงแล้ว ความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคปอด จะน้อยลง และสุขภาพ โดยทั่วไป ก็จะดีขึ้นเองอีกด้วย
- โรคหัวใจ มีหลายชนิด เช่น โรคลิ้นหัวใจพิการ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจขาดเลือด ฯลฯ การรักษากับแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ซึ่งแพทย์อาจ พิจารณา ให้ยาบางชนิดเพื่อลดโอกาสเกิดโรค หลอดเลือดสมอง และจะช่วยลดความเสี่ยงของ โรคหลอดเลือดสมองลงได้
- โรคเบาหวาน ก็เป็นปัจจัยเสี่ยงอีกประการหนึ่ง ถ้าป่วยเป็นโรคนี้ ก็ ควรพบ แพทย์และรับประทาน ยาตามที่แพทย์แนะนำอย่างเคร่งครัด จะช่วยลด ความเสี่ยงลงได้
- ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคหลอดเลือด หัวใจตีบตัน และยังอาจเป็น ปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย ดังนั้น การรับประทานอาหารที่ไม่มีไขมันมากเกินไป หรืออาจต้องรับประทานยาลดไขมัน ร่วมด้วยตามที่แพทย์แนะนำจะช่วยลดความเสี่ยงต่อ โรคเส้นเลือดหัวใจ ตีบตัน และอาจช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดสมองอีกด้วย
ปัจจัยเสี่ยงที่แก้ไขปรับเปลี่ยนได้
- ลดและควบคุมความดันโลหิต
- ลดคอเลสเตอรอลในเลือด
- ลดน้ำหนัก
- ออกกำลังกายแบบแอโรบิค
- รับประทานผักและผลไม้ให้มาก
- งด ! อาหารไขมัน
- งด ! เหล้า บุหรี่ และสารเสพติด
- ให้ยาป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
- เพิ่มการไหลเวียนของเลือดในหลอดเลือดโคโรนารี ซึ่งเป็นหลอดเลือดสำคัญของหัวใจ
“สโตร๊ค” เป็นฆาตรกรเงียบที่ทุกคนควรระวัง เพราะไม่น่าเชื่อว่าทุกวันนี้คนไทยตายด้วยโรคระบบหลอด
เลือดสมองและหัวใจมากกว่าถูกรถชนตาย ดังนั้น “กันไว้ดีกว่าแก้ ย่ำแย่เดี๋ยวจะ แก้ไม่ทัน” ไม่มีเทคโนโลยี
วิเศษใด ๆ ที่จะมาช่วยป้องกันโรคให้เราได้ “นอกจากตัวเราเอง”
อาการและอาการแสดง
ชนิดของโรคหลอดเลือดสมอง
• เกิดจากเส้นเลือดใหญ่ในสมองแข็งและตีบตัน (atherothrombosis) ทำให้เนื้อสมองตายเป็นบริเวณกว้าง และอาจเกิดสมองบวมกดเนื้อสมองข้างเคียงตามมาได้
• เกิดจากก้อนเลือดเล็กๆ มาตามกระแสเลือด มาอุดตันเส้นเลือดใหญ่ในสมอง (embolism) อาจมาจากหัวใจ(cardioembolic) หรือเส้นเลือดใหญ่ก็ได้(artery to artery)
• เกิดจากการเสื่อมของเส้นเลือดเส้นเล็ก (lacunar infarction) บริเวณเนื้อสมองตาย จะไม่มากแต่ผู้ป่วยอาจจะอ่อนแรงมากๆได้
โรคหลอดเลือดสมองแตก (Intracranial hemorrhage) มีได้หลายชนิด ...
• เลือดออกในเนื้อสมอง (intracerebral hemorrhage) เกิดจากผนังเส้นเลือดเสื่อมสภาพโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ที่มีความดันโลหิตสูงนานๆ หรือควบคุมความดันโลหิตได้ไม่ดี
• เลือดออกในเนื้อสมองจากการที่เส้นเลือดมีสารอมัยลอยด์สะสม (amyloid angiopathy)และทำให้เส้นเลือดแตก มักมีอาการสมองเสื่อมร่วมด้วย มักพบในคนสูงอายุ แต่พบได้ไม่บ่อยนัก
• การแตกของเส้นเลือดโป่งพอง (ruptured aneurysm) ในช่องที่อยู่ของน้ำไขสันหลัง(subarachnoid hemorrhage) ซึ่งผู้ป่วยมักมีโรคความดันโลหิตสูงร่วมด้วย
• เส้นเลือดดำและแดงต่อกันผิดปกติ (arteriovenous malformation) ทำให้มีเลือดออกทั้งในเนื้อสมองและในช่องที่อยู่ของน้ำไขสันหลัง(subarachnoid hemorrhage)มักพบในคนอายุน้อย ไม่ทราบสาเหตุ
โรคหลอดเลือดสมองตีบตัน (ischemic stroke)
เกิดจากการอุดตันของเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงสมองส่วนใดส่วนหนึ่ง ทำให้เกิดอาการผิดปกติของการทำงานร่างกายส่วนที่สมองส่วนนั้นๆ ควบคุม
ทั้งถ้าอาการอยู่ไม่เกิน 24 ชั่วโมงจะเรียกว่าเป็น การขาดเลือดแบบชั่วคราว (Transient ischemic attack หรือ TIA.หรือ mini-stroke) ซึ่งโดยมากอาการมักไม่นานเกินครึ่งชั่วโมง
ความสำคัญคือถ้าเกิด การขาดเลือดแบบชั่วคราว (TIA) แล้ว ผู้ป่วยมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองตีบตันถาวร ตามมาได้ถึง 1 ใน 10คน ในสัปดาห์แรก และประมาณ 2 ใน 10คน ในเดือนแรก หลังจากนั้นโอกาสจะน้อยลงเป็นประมาณ 4-5 ใน 100 คนต่อปี แพทย์จึงเน้นให้ผู้ป่วยที่สงสัยว่าตนมีอาการของการขาดเลือดแบบชั่วคราวมาพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)